วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel 2007









1. แถบแสดงชื่อเรื่อง (Title Bar) แสดงชื่อของโปรแกรมและชื่อแฟ้มที่กำลังใช้งานอยู่
2. เมนูควบคุม (Control Menu) ใช้สำหรับควบคุมขนาดของหน้าต่างโปรแกรม
            3. แถบเมนู (Menu Bar) แสดงรายการคำสั่งหลักที่อยู่ในรูปแบบของเมนู คลิกเมื่อต้องการใช้
            4. แถบเครื่องมือ (Toolbars) เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ ในรูปของปุ่มเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย
            5. Formula Bar ใช้สำหรับป้อนและแสดงชื่อเซลล์ ข้อมูล สูตร และฟังก์ชั่น ในส่วนที่เลือก
            6. Column Name ใช้แสดงชื่อของคอลัมน์ในเวิร์กชีต ใน 1 เวิร์กชีต มีทั้งหมด 256 คอลัมน์
            7. Row Number ใช้แสดงหมายเลขของแถวในเวิร์กชีต 1 เวิร์กชีต มี 65,536 แถว
            8. แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้สำหรับเลื่อนดูหน้าเอกสารที่ไม่สามารถแสดงได้ในหน้าเดียว
            ซึ่งสามารถเลื่อนได้ทั้งบน ล่าง ซ้าย ขวา
            9. Status Bar แสดงสถานะการทำงานของโปรแกรม Excel
            10. Sheet Tab หรือป้ายชื่อ เป็นส่วนที่ใช้บอกชื่อของเวิร์กชีตต่าง ๆ ที่อยู่ในเวิร์กบุ๊ก






                                                                      

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของ Windows Microsoft Word 2007

                             


                      ส่วนกอบของหน้าต่างโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด คือส่วนต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอ 

                                   ทั้งส่วนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมและส่วนที่เรียกใช้งาน










                                                       




แถบชื่อ (Title Bar : ไตเติ้ลบาร์)

ป็นแถบสีน้ำเงินอยู่บนสุดของหน้าต่าง ทางด้านซ้่ายประกอบด้วยสัญลักษณ์ของโปรแกรม (คอนโทรลเมนู) ชื่อแฟ้มข้อมูล
ที่กำลังเปิดใช้่งานอยู่ ชื่อโปรแกรม ส่วนด้านขวามือเป็นปุ่มควบคุมหน้าต่าง 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มมินิไมซ์, ปุ่มรีสโตร์ ดาวน์ หรือ
ปุ่มแมกซิไมซ์ (ขึ้นอยู่กับสถานะของหน้าต่างขณะใช้งาน) และ ปุ่มปิดโปรแกรม 
















แถบคำสั่ง (Menu Bar : เมนูบาร์)
แถบที่สองรองจากไตเติ้ลบาร์ เป็นแถบที่ใช้แสดงรายชื่อคำสั่งต่าง ๆ เพื่อให้เราเลือกใช้สำหรับทำงานในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  










 แถบเครื่องมือ (Toolbars : ทูลบาร์)
แถบที่มีรูปสัญลักษณ์แทนคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกใช้งานบ่อย ๆ ซึ่งแถบเครื่องมือหลักที่ใช้ประจำมี 3 ชนิด คือ
1. แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard toolbars : แสตนดาร์ดทูลบาร์) ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแฟ้มข้อมูล
เช่น การสร้าง การเปิดแฟ้มข้อมูล การบันทึกแฟ้มข้อมูล การสำเนาข้อความ เป็นต้น
2. แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (Formatting toolbars : ฟอร์แมตติ้งทูลบาร์) ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบ
ให้กับตัวอักษร ข้อความ ย่อหน้า เช่น เปลี่ยนขนาดตัวอักษร ทำตัวเอียง ตัวหนา การจัดวางตัวอักษร เป็นต้น 
3. แถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing toolbars : ดรอว์อิ้งทูลบาร์) ใช้สำหรับสร้่างและจัดการรูปวาด
การเรียกใช้แถบเครื่องมือสามารถเรียกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ โดยการคลิกที่คำสั่งมุมมองและคลิกคำสั่งย่อย "แถบเครื่องมือ"
เลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการให้แสดง จะปรากฎเครื่องหมาย √ หน้าชื่อเครื่องมือนั้น









ไม้บรรทัด (Ruler : รูเลอร์)
เป็นส่วนที่บอกขอบเขตพื้นที่ในการพิมพ์ ไม้บรรทัดจะมีเฉพาะด้านบนของหน้าจอ (ในมุมมองปกติ) แต่จะมีอยู่ที่ด้านบนและด้านซ้าย
ของหน้าจอ (ในมุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์)
ไม้บรรทัดด้านบน จะมีรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่ด้านซ้ายสุดและขวาสุด ใช้สำหรับย่อหน้าข้อความและปรับพื้นที่ในการพิมพ์ ตามลำดับ
การเรียกใช้ไม้บรรทัดสามารถเรียกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ โดยการคลิกที่คำสั่งมุมมอง และคลิกที่คำสั่งย่อย "ไม้บรรทัด"



 



 มุมมอง (View : วิว)
เป็นสัญลักษณ์รูปแบบพื้นที่ทำงานลักษณะต่าง ๆ อยู่ทางซ้ายมือของแถบเลื่อนแนวนอน ใช้เลือกรูปแบบของพื้นที่ทำงาน ได้แก่ มุมมองปกติ มุมมองเค้าโครงเว็บ มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์ มุมมองเค้าร่าง
และ มุมมองเค้าโครงการอ่าน
การเลือกมุมมองของพื้นที่ทำงาน สามารถเลือกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ และที่สัญลักษณ์คำสั่งมุมมอง











 แถบเลื่อน (Scroll Bar : ซโครลบาร์)
เป็นแถบใช้เลื่อนดูข้อความที่ซ่อนอยู่ในหน้าต่าง ด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา แถบเลื่อนจะปรากฎอยู่ที่ด้านขวาและด้านล่างของหน้าจอ แถบเลื่อนมีลักษณะการใช้งานตามตำแหน่งที่อยู่ดังนี้
  • แถบเลื่อนแนวนอน ใช้่เมื่อต้องการเลื่อนดูข้อความที่ซ่อนอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของหน้าจอ
  • แถบเลื่อนแนวตั้ง ใช้่เมื่อต้องการเลื่อนดูข้อความที่ซ่อนอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของหน้าจอ







แถบสถานะ (Status Bar : ซเททัซบาร์)
เป็นแถบที่อยู่เหนือปุ่ม Start ใช้บอกเลขหน้า เลขส่วน เลขหน้าต่อจำนวนหน้าทั้งหมด บรรทัด คอลัมน์ และภาษาที่ใช้
ในการทำงานขณะนั้น ดังนี้
  • เลขหน้า  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่หน้าใด
  • เลขตอน  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่ตอนใดของเอกสาร
  • เลขหน้า/จำนวนหน้า  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่หน้าใดของจำนวนหน้าทั้งหมด
  • ตำแหน่งการพิมพ์  บอกให้รู้ว่าการพิมพ์อยู่ที่ตำแหน่งใดจากส่วนบนของเอกสาร
  • บรรทัด  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่บรรทัดใด
  • คอลัมน์  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่คอลัมน์ใด
  • ภาษา  บอกให้รู้ว่ากำลังทำงานด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ  







 มินิไมซ์ (Minimize : มินิไมซ์) 
เป็นปุ่มแรกสุด อยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอ ใช้สำหรับย่อขนาดของหน้าต่างให้หายไปจากจอภาพ ให้เป็นแถบเล็ก ๆ
บนทาสก์บาร์ (แถบที่มีปุ่ม Start)

 




 รีสโตร์ ดาวน์ (Restore Down : รีสโตร์ ดาวน์)
เป็นปุ่มที่สอง อยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอ ใช้สำหรับย่อหน้าต่างให้มีขนาดเท่าเดิม (ก่อนขยาย)



 



 ปิด (Close : คโลส)
เป็นปุ่มสีแดง อยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอ ใช้สำหรับปิดโปรแกรม